top of page

RESEARCH

Screen Shot 2563-12-17 at 16.52.08.png

กระบวนการสมองและความจำ

  สมองมีความสามารถในการเข้ารหัส ความทรงจำต่างๆโดยการสร้างทางเชื่อมระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์เข้าด้วยกัน เมื่อได้ระบบการเชื่อมต่อของความทรงจำ แต่ละความทรงจำแล้ว จะเก็บไว้เป็นหมวดหมู่เรียกว่าเอ็นแกรม จะถูกน้ำไปเก็บไว้ตามกลีบสมอง เมื่อมีการกระตุ้นที่เหมาะสมก็เหมือนกับการไขรหัสสู่ความทรงจำนั้นๆ คนๆนั้นจะระลึกได้ว่าเคยผ่านประสบการณ์เช่นนั้นมา
พัฒนาความจำอย่างไร ?

ชนิดของความทรงจำ

บางคนจำภาพ
สมองมนุษย์
บางคนจำกลิ่น
บางคนจำสี

ความจำ  เริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจากสิ่งเร้าทั้งหลาย และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อเก็บบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องและสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ ซึ่งความทรงจำแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
      1.  ความจำทันที (immediate memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที
       2.  ความจำระยะสั้น (short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน
       3.  ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้

กระบวนการในการจัดเก็บ(เราจะเก็บข้อมูลไว้ในเซลล์ประสาท)

  สมองส่วนหน้า - ออลเฟกทอริบัลบ์ ดมกลิ่น - ซีรีบลัพ *กลีบหน้า คือ ความคิด การตัดสินใจ การพูด และการใช้ภาษา *กลีบขมับ คือ เข้าใจเสียงสูง เสียงต่ำ *กลับข้างหม่อม คือ การรับความสัมผัส รับรส *กลีบท้ายทอย คือ การเห็นภาพ -ทาลามัส ศูนย์รวม ไฮโปทาลามัส การปรับ อุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ และความรู้สึก สมองส่วยกลาง คือการเปิดหรือปิดรูม่านตา สมองส่วนท้าย - พอนส์ การเคี้ยว -เมดัลลา ผ่านกระแสประสาท -ซีรีเบลลัม ควบคุมการสั่งการของสมอง
   
   ในจิตวิทยา ความจำ (อังกฤษ: memory) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระทบกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้นที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัยความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ

   สมองทางด้านความทรงจำของเรานั้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีสิ่งเร้าจึงจะเกิดกระบวนการจำ ในที่นี้เราจะขอยกตัวอย่างเป็น การจำภาพในความทรงจำของเราที่แปลออกมาเป็นสีและเสียง เป็นตัวสนับสนุนให้สีในความทรงจำของเราชัดเจนมากขึ้น

Memory Palace

  Memory Palace เป็นเทคนิคการใช้วิธีการที่สอดคล้องกับรูปแบบที่สมองออกแบบมากที่สุด ชื่อเดิมคือ memoria Memory Palace หรือ Method of Loci ใช้หลักการง่ายๆว่ามนุษย์จะสามารถจดจำสถานที่ได้ดีที่สุดดังนั้นถาเราจะเชื่อมโยงสิ่งที่เราอยากจะจดจำเข้ากับสถานที่ต่างๆที่เราคุ้นเคย เราก็จะสามารถจำจดสิ่งเหล้านั้นได้ง่ายกว่าเดิม วิธีสร้าง Memory place
1. มนุษย์เลือกจะจดจำสถานที่ได้ดีที่สุด เราเลือกสถานที่ที่เก็บความทรงจำ เรียกว่า "Memory place "  บ้านที่โตขึ้นมาตอนเด็ก เมืองบ้านเกิด
2. เลือกเส้นทางการเดินใน Memory place - เลือกเส้นทางเพื่อเรียงลำดับการจำ - การจำวันเกิด
3. แปลสิ่งที่ต้องการจะทำให้เป็นภาพ *สมองจะจำได้ดีที่สุด ซ้ำกัน มีโครงสร้างชัดเจน สามารถทำให้เป็นภาพความได้ง่าย
4. นำภาพๆนั้นเอาไว้ในตำแหน่งต่างๆ
5. การเรียกใช้ Memory place คอยสังเกตว่าเราเห็นสิ่งใดบ้าง จากนั้นนำมาตีความหมายย้อนกลับไปว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นมีคสามหมายอย่างไร
6. เมื่อจะจดจำข้อมูลใหม่ให้จิตนาการสิ่งใหม่ๆที่เราต้องการจะจดจำเข้าไปแทนความทรงจำเดิม

สีและสมอง มากกว่าความรู้สึกและอารมณ์

  ทำไมสีถึงมีผลต่อความจำ ความจำของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยหลายปัจจัย ทั้งสมรรถภาพในการจำ ระยะเวลาในการจำ และการเพ่งความสนใจ เรามาดูกันดีกว่าว่าสีมีผลอย่างไรต่อความจำของเรา

สีสัน คือสิ่งเร้าอารมณ์

สีสัน ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นสิ่งเร้าและกระตุ้นในเรื่องอารมณ์ของมนุษย์ เมื่อเราเจอสิ่งของที่มีสีสัน เราจะรู้สึกต่อสิ่งนั้นและจดจำมัน เช่นบางคนใช้สีในการจำรถตัวเอง จากงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระบุว่า เหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น จะกระตุ้นความจำได้ดีกว่า และ สีโทนร้อน เช่น สีแดง สีเหลือง จะกระตุ้นการตื่นตัวของมนุษย์ได้ดีกว่าสีโทนเย็น เช่น สีน้ำเงิน สีเขียว

สีสัน เป็นความจำรู้สึกสัมผัสทางตา

หนึ่งในความจำประเภทความจำรู้สึกสัมผัสที่นักจิตวิทยามักให้ความสำคัญ คือ การสัมผัสทางตา หรือการมองเห็น (Iconic memory) ซึ่งความจำชนิดนี้จะทำให้เราจดจำภาพในระยะเวลาสั้นๆ ได้ เมื่อมีสีเข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นเหมือนการกระตุ้นให้เกิดการจำในระยะเวลาที่นานขึ้น ชัดขึ้น และความจำสัมผัสยังสามารถทำให้คนเราเปรียบเทียบสิ่งที่สนใจ และตัดทิ้งสิ่งที่สนใจน้อยกว่า เพื่อไม่ให้รบกวนความจำที่เราต้องการจำจริงๆ อีกด้วย ดังนั้นการเน้นข้อมูลสำคัญด้วยสีสัน จึงเป็นเหมือนการกำหนดสิ่งที่ต้องการจำให้ชัดเจน และง่ายที่จะจดจำ

Screen Shot 2563-12-17 at 18.29.05.png
Screen Shot 2563-12-17 at 16.50.06.png

  สี หมายถึง สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย เช่น ทำให้รู้สึกสดใส ร่าเริง ตื่นเต้น หม่นหมอง หรือเศร้าซึมได้ เป็นต้น สีแต่ละสีที่มีอยู่ในวัตถุต่าง ๆ มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์ เช่น สีแดง กล้าหาญ อันตราย เร้าใจ สะดุดตา สีเหลือง สว่างที่สุด บริสุทธิ์ แจ่มใส เลื่อมใส สีน้ำเงิน สงบ สุขุม สันติภาพ ภูมิฐาน สีเขียว ความหวัง สดชื่น ชุ่มชื่น ร่มเย็น สีม่วง ร่ำรวย โอ่อ่า งอกงาม สีส้ม ร้อนแรง สนุกสนาน รื่นเริง เปรี้ยว สีขาว สะอาด บริสุทธิ์ กระจ่างแจ้ง มั่นคง เบา สีดำ เศร้า ความตาย หนัก น้ำหนักสี ( Tone ) หรือวรรณะของสี หมายถึง ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของสีหรือค่าความอ่อนแก่ของสี ไล่ระดับกันไป เช่น ดำ – เทาเข้ม – เทากลาง – เทาอ่อน – ขาว โทนก็มีผลต่อความรู้สึกคล้ายกับสีนั่นเอง เพียงแต่จะละเอียดอ่อนมากขึ้น มีค่าความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์

bottom of page